ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Low testosterone, Low-T)
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย(Low testosterone, Low-T) คือ การที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเลือดต่ำ และส่งผลให้มีอาการต่างๆจากภาวะดังกล่าว โดยมักเกิดขึ้นในเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเมื่ออายุ 40 ปี ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเพศชายลดลง 1-3% ต่อปี
อาการของฮอร์โมนเพศชายต่ำ
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง
- เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- กล้ามเนื้อเล็กลง มวลกระดูกลดลง
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีภาวะอ้วนลงพุง
- นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย
- มีอาการหดหู่ ซึมเศร้า
การวินิจฉัย
เริ่มต้นได้ง่ายๆด้วยการทำแบบสอบถามเพื่อคัดกรองภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ร่วมกับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินอาการและตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศชาย เพื่อให้การักษาที่เหมาะสมตามอาการแต่ละบุคคล
การรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ที่มีอาการไม่มากและระดับฮอร์โมนไม่ต่ำมาก
- ลดน้ำหนัก
- หยุดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด
- การให้ฮอร์โมนเพศชายเสริม
รูปแบบของฮอร์โมนทดแทน
- ชนิดรับประทาน
- ต้องกินพร้อมอาหารไขมันสูงเพื่อช่วยการดูดซึม และต้องกินวันละหลายครั้ง ปัจจุบันไม่มีจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว
- ชนิดทาที่ผิวหนัง
- ต้องทาวันละครั้งในช่วงเช้าหรือช่วงก่อนนอน ยาดูดซึมได้ดี แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีเด็กหรือหญิงตั้งครรภ์ในบ้าน เนื่องจากมีโอกาสได้รับฮอร์โมนโดยไม่ตั้งใจจากการสัมผัส
- ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
- มีสองชนิด คือ แบบออกฤทธิ์สั้น ต้องฉีดทุก 2-4 สัปดาห์ และ แบบออกฤทธิ์ยาว โดยฉีดทุก 3 เดือน
ผลที่ได้รับจากการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย
- ความต้องการทางเพศและการแข็งตัวของน้องชายดีขึ้น
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อดีขึ้น ไขมันที่พุงลดลง
- มวลกระดูกเพิ่มขึ้น
- การควบคุมระดับน้ำตาลดีขึ้น
- อารมณ์ดีขึ้น ระบบประสาททำงานได้ปกติดี

วิธีการเดินทางรถยนต์สามารถจอดรถที่ตึก The Royal Place 1 ฟรีค่าจอด
BTS ราชดำริ ทางออก 4 เดินทางซอย มหาดเล็กหลวง 1 เข้ามา 150 เมตร