โปรแกรมทดแทนฮอร์โมนเพศชาย

ฟื้นฟูพลังงาน ความแข็งแรง และความมั่นใจของคุณด้วย TRT ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ 


🧬 ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) คืออะไร?

ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) เป็นฮอร์โมนหลักที่มีบทบาทสำคัญในร่างกายผู้ชาย โดยผลิตจาก ลูกอัณฑะ และต่อมหมวกไต มีหน้าที่ช่วยพัฒนาและรักษาคุณลักษณะทางเพศชาย เช่น:

  • กระตุ้นความต้องการทางเพศ (Libido)
  • ส่งเสริมการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและความแข็งแรง
  • เพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและป้องกันภาวะกระดูกพรุน
  • ควบคุมอารมณ์และพลังงานในร่างกาย
  • มีบทบาทสำคัญในการผลิตอสุจิและการเจริญพันธุ์

 

ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลงตามอายุได้อย่างไร?

หลังอายุ 40 ปี ฮอร์โมนเพศชายในร่างกายของผู้ชายจะลดลงเฉลี่ยปีละ 1% ตามธรรมชาติ【¹】
ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Hypogonadism) พบได้มากขึ้นในผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยจากการศึกษาพบว่า 39% ของผู้ชายในช่วงอายุดังกล่าวมีระดับฮอร์โมนต่ำกว่าปกติ【²】

 

อาการที่พบได้เมื่อฮอร์โมนเพศชายลดลง

  > ความต้องการทางเพศลดลง และมีปัญหาด้านสมรรถภาพทางเพศ
  > อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือซึมเศร้า
  >  รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีแรง
  >  มวลกล้ามเนื้อลดลง และมีไขมันสะสมเพิ่มขึ้น
  >  กระดูกบางลง และเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

Testosterone Replacement Therapy (TRT) สามารถช่วยฟื้นฟูระดับฮอร์โมนของคุณได้ และได้รับการรับรองจากสมาคมต่อมไร้ท่อว่าเป็นแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพ【³】


การฉีดฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone Injection) คืออะไร?

การฉีดฮอร์โมนเพศชายเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมที่สุดใน Testosterone Replacement Therapy (TRT) เพราะสามารถควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกายได้อย่างแม่นยำ มีทั้ง แบบฉีดรายสัปดาห์ และแบบฉีดรายเดือน ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีระดับฮอร์โมนต่ำและต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพให้กลับมาแข็งแรง

 

🔹 การฉีดฮอร์โมนเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจาก:

 ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนได้แม่นยำ
ออกฤทธิ์เร็วและมีประสิทธิภาพสูง
 สะดวกและสามารถปรับขนาดยาได้ตามต้องการ

 

🔹 ประโยชน์ของการฉีดฮอร์โมน TRT

 ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ และฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ
 เพิ่มพลังงาน ลดอาการอ่อนเพลีย และช่วยให้มีแรงทำกิจกรรมตลอดวัน
 เพิ่มมวลกล้ามเนื้อและลดไขมันสะสม ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
 ช่วยควบคุมอารมณ์ ลดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มความมั่นใจในตัวเอง
 ลดความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนและโรคหัวใจ


จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนฉีดฮอร์โมนเพศชายหรือไม่?

✅ การตรวจเลือดก่อนฉีดฮอร์โมนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการรับฮอร์โมนจากภายนอกอาจมีผลกระทบต่อระบบร่างกาย เช่น:

  • ตับและไต – ฮอร์โมนเพศชายอาจมีผลต่อการทำงานของตับและไต (ต้องตรวจค่าการทำงานของตับ LFT และการทำงานของไต BUN, Cr)
  • ต่อมลูกหมาก (PSA Test) – ผู้ที่มีประวัติภาวะต่อมลูกหมากโต หรือมีความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรตรวจสอบระดับ PSA ก่อน
  • ระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile) – เพื่อป้องกันภาวะไขมันสูงที่อาจเกิดขึ้นจากการเพิ่มฮอร์โมน
  • ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS Test) – ตรวจหาความเสี่ยงของโรคเบาหวาน
  • CBC (ความสมบูรณ์ของเลือด) – ตรวจวิเคราะห์สุขภาพเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าการฉีดฮอร์โมนจะปลอดภัย
  •    

📌 ดังนั้น ก่อนเริ่ม TRT ควรเข้ารับการตรวจเลือดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัยที่สุด


💰 ราคาโปรแกรม TRT ที่ Menscape Clinic

🔹 ตรวจเลือด T-shot Lab – พิเศษ 2,190 บาท (ปกติ 2,500 บาท)
🔹 Full Option for T-shot Lab – พิเศษ 2,790 บาท (ปกติ 3,000 บาท)
🔹 ฉีดฮอร์โมนเพศชาย T-shot 250 mg – 2,500 บาท/ครั้ง (ฉีดทุกสัปดาห์)
🔹 ฉีดฮอร์โมนเพศชาย T-shot 1,000 mg – 12,000 บาท/ครั้ง (ฉีดทุกเดือน)

💎 พิเศษ! ลดเพิ่ม 500 บาท เมื่อซื้อแพ็กเกจตรวจเลือดพร้อม T-shot


📌 ทำไมต้องทำ TRT กับ Menscape Clinic?

🔹 ทีมแพทย์เฉพาะทาง – ดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมระบบสืบพันธุ์เพศชาย
🔹 การรักษาแบบองค์รวม – ปรับระดับฮอร์โมนเพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายแต่ละคน 
🔹 ห้องปฏิบัติการมาตรฐานสูง – ตรวจเลือดด้วยห้องแลปมาตรฐาน และ แพทย์แปลผลเองทุกเคส
🔹 บริการเป็นส่วนตัว – ปลอดภัย มั่นใจ นัดหมายเข้าพบแพทย์ไม่ต้องรอคิว


พร้อมฟื้นฟูสมรรถภาพของคุณแล้วหรือยัง?

จองคิวปรึกษาฟรีวันนี้ เพื่อเริ่มต้นการรักษาและคืนความมั่นใจให้คุณ!


🔗 แหล่งอ้างอิง

【¹】Harman SM, Metter EJ, Tobin JD, et al. (2001). Longitudinal effects of aging on serum total and free testosterone levels in healthy men. Baltimore Longitudinal Study of Aging. J. Clin. Endocrinol. Metab. 86:724–731.

【²】Mulligan T, Frick MF, Zuraw QC, Stemhagen A, McWhirter C. (2006). Prevalence of hypogonadism in males aged at least 45 years: the HIM study. Int J Clin Pract. 60(7):762-769.

【³】Bhasin S, Brito JP, Cunningham GR, et al. (2018). Testosterone therapy in men with hypogonadism: an endocrine society clinical practice guideline. J. Clin. Endocrinol. Metab. 103:1715–1744.

 

Menscape Clinic คลินิกดูแล สุขภาพสำหรับผู้ชาย เรื่องสุขภาพผู้ชายไว้ใจ Menscapeเปิดทำการ จันทร์ ถึง อาทิตย์ เวลา 11:00 น. ถึง 20:00 น.
วิธีการเดินทางรถยนต์สามารถจอดรถที่ตึก The Royal Place 1 ฟรีค่าจอด BTS ราชดำริ ทางออก 4 เดินทางซอย มหาดเล็กหลวง 1 เข้ามา 150 เมตร
ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เลือกบริการที่คุณสนใจ* (สามารถเลือกได้มากกว่า 1 บริการ)

กรุณากรอกคำถามหรือระบุเวลาที่สะดวกให้เราติดต่อกลับ